9 กันยายน 2555

                                                                      บทความสุดท้าย
                                      เรื่อง
                                   สึนามิ


 สาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิ
     คลื่นสึนามิเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกันดังนี้
     1. การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใกล้ทะเล 
     2. การเกิดแผ่นดินเลื่อนถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่ง
     3. การเกิดจากก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร
     4. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจจะเป็นการเกิดแผ่นดิน ถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้น หรือทรุดตัวลง อย่างฉับพลัน พลังงานมหาศาลจะถ่ายเทไปเกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็นคลื่นยักษ์ที่เหนือทะเลลึก  ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปกติเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น จึงไม่สามารถแม้แต่จะบอกได้ด้วยภาพถ่าย จากเครื่องบินหรือยานอวกาศ
     5. การเกิดระเบิดใหญ่ใต้น้ำจากนิวเคลียร์ 
     กล่าวโดยทั่วไป คลื่นสึนามิเกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นมหาสมุทรในแนวดิ่ง เนื่องจากแรงเทคโทนิค จากแผ่นดินไหว ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ ส่วนกรณีที่มีการเคลื่อนตัวตามแนวนอน มักเกิดบริเวณที่มีภูเขาใต้น้ำ หรือหน้าผาใต้น้ำ โดยจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก การเคลื่อนตัวตามแนวดิ่งขึ้น และลงของพื้นมหาสมุทร ขณะเกิดแผ่นดินไหว จะเกี่ยวข้องกับความสูงของลำน้ำที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีการสั่นสะเทือน อนุภาคน้ำจะกระเพื่อม ขึ้นและลง เริ่มต้นเป็นศูนย์กลางของการแผ่กระจายคลื่นน้ำออกไปทุกทิศทาง ความสูง ขนาด การเคลื่อนที่ และความเร็วของคลื่น น้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสูงสุดใกล้ชายฝั่ง บริเวณแหล่งกำเนิดในทะเล แทบจะไม่ปรากฏผลกระทบจากคลื่นสึนามิ บริเวณชายฝั่งที่มีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสม และความลึกของชายฝั่งตื้น จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินบริเวณชายฝั่งนั้นได้อย่างมาก
อันตรายจากคลื่นสึนามิ     
  อันตรายต่อบุคคล
     1. เสียชีวิต หรือสูญหาย
     2. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น โดนไม้ หรือสิ่งของกระแทก
     3. เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ หลังจากเกิดภัยสึนามิ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคน้ำกัดเท้า
     4. สุขภาพจิตเสื่อม เนื่องจากการหวาดผวา หวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลที่รักและทรัพย์สิน
     5. ขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ หรือธุรกิจการค้าต่าง ๆ หยุดชะงัก  ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
   อันตรายต่อทรัพย์สิน
     1. อาคารบ้านเรือน ร้านค้า โรงเรียน สาธารณสถาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
     2. การสื่อสาร ระบบโทรคมนาคมถูกตัดขาด ไฟฟ้า น้ำประปา ได้รับความเสียหาย
     3. แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศชาติ
          เหตุการณ์คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในโลกในรอบทศวรรษที่ 90 เกิดบริเวณ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งวัดขนาดของแผ่นดินไหว ได้ถึง 8.9 ริชเตอร์ ส่งผลให้เกิดภัยจากคลื่นสึนามิขึ้นที่ประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลีย พม่า มัลดีฟส์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย แทนซาเนีย แอฟริกาใต้  บังกลาเทศ ส่วนการที่มีชนชาติต่าง ๆ เสียชีวิตจำนวนมากด้วย เนื่องจากคนเหล่านั้นได้เดินทางไปประเทศที่เกิดสึนามิ สำหรับในประเทศไทย เกิดคลื่นสึนามิขึ้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ คือจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ระนอง และสตูล ทำให้เกิดการสูญเสีย อย่างใหญ่หลวง มีผู้เสียชีวิต 5,303 ราย ยอดผู้เสียชีวิตนี้ไม่รวมผู้สูญหาย โดยเฉพาะประเทศไทยแล้ว  สึนามิเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ผู้ประสบเหตุไม่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์มาก่อน  ไม่มีการเตรียมพร้อม ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

การป้องกันภัยจากสึนามิ
     การป้องกันภัยจากสึนามิอาจกระทำได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน  ซึ่งต้องให้ความร่วมมือกันดังนี้
          ภาครัฐ
     1. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม โดยพิจารณาจัดให้แหล่งที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณที่ห่างจากชายฝั่งทะเล
     2. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
     3. จัดให้มีการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ
     4. วางแผนในเรื่องการอพยพผู้คน การกำหนดสถานที่ในการอพยพ การเตรียมแหล่งสะสมน้ำสะอาด  การจัดเตรียมบ้านพักอาศัยชั่วคราว การระสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะเกิดภัย การกำหนดขั้นตอน หรือวิธีการชวยเหลือบรรเทาภัยด้านสาธารณสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง
     5. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งทะเล ในเขตที่มีความเสี่ยงภัยจากคลื่นสึนามิสูง
     6. จัดให้มีศูนย์เตือนภัยจากคลื่นสึนามิ
     7. มีการประกาศเตือนภัย
          ภาคเอกชน
     1. ควรให้การสนับสนุนภาครัฐและประชาชนในเรื่องการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ความรู้แก่ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ
     2. ให้การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อใช้ในการป้องกันภัยสึนามิ และการช่วยเหลือหลังเกิดภัยพิบัติขึ้น
     3. ให้การสนับสนุนด้านกำลังคนในการช่วยเหลือ กรณีเกิดภัยจากสึนามิ
          ภาคประชาชน
     1. ควรติดตามการเสนอข่าว หรือประกาศเตือนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
     2. รู้จักสังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง ถ้าน้ำทะเลลดระดับลงมามากหลังเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้รีบอพยพคนในครอบครัว หรือสัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมาก ๆ ควรอยู่ในที่ดอนหรือที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
     3. กรณีที่อยู่ในเรือ ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิด คลื่นสึนามิพัดเข้าหา
     4. หากเกิดภัยจากคลื่นสึนามิ พยายามตั้งสติให้มั่น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์
     5. อย่าลงไปชายหาดเพื่อไปดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็จะไม่สามารถวิ่งหลบหนีได้ทัน
     6. ไม่ควรประมาท กรณีที่มีข่าวว่าจะเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก เนื่องจากคลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่ว่าอีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ก็ได้
     7. คลื่นสึนามิสามารถเกิดขึ้นได้อีกหลายระลอก จากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากการ แกว่งไปแกว่งมาของน้ำทะเล ถ้าจะลงไปชายหาดให้รอสักระยะหนึ่ง เพื่อให้แน่ว่าปลอดภัยจากคลื่นแล้ว
                    

                            
 

                        



                            


      ..................................................................................................................................................                                                                           
                                                                                                               จัดทำโดย

                                                                                            นางสาวอมรรัตน์      สุวรรณาภา
                                                                                                             ม. 5/5       เลขที่35




4 กันยายน 2555



บทความสุดท้าย

บทความสุดท้ายขอกล่าวเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมตัวสอบ onet





O-NET คืออะไร ? O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. ชื่อเต็มๆ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETSซึ่งการสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
1. ภาษาไทย
2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3. ภาษาอังกฤษ
4. คณิตศาสตร์
5. วิทยาศาสตร์
6. สุขศึกษาและพลศึกษา
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ศิลปะ

เทคนิคพิชิตการสอบ onet
1. ฝึกทำข้อสอบอย่างน้อย 10 พ.ศ.
2. อย่าทำตัวให้ว่าง
3. อย่าไปแข่งกับใคร เราต้องแข่งกับตัวเองให้ได้เสียก่อน
4. คู่แข่งคนสำคัญของเราไม่ใช่เด็กลำปาง แต่เป็นคนทั้งประเทศต่างหาก นะจ๊ะ
5. ต้องมีเทคนิคเฉพาะตัว ที่ไม่เหมือนใคร
6. อย่ายึดกับตัวเองให้มากนัก
7. ต้องมั่นใจในตนเอง ว่าเราต้องทำได้
8. หลับ เที่ยงคืนถึงตีสี่ พอ ใช้เวลาอ่านหนังสือให้มากๆ
9. ฝึกเข้าหาอาจารย์ไว้ ไม่ต้องสนใจใคร เพราะนี้ไม่ใช่ประจบ แต่เป็นการทำให้เรากล้าปิดใจมากขึ้น
10. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ตัวอย่างข้อสอบ onet
  ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ O-NET 54  ปีการศึกษา 2553 ระดับชั้น ม.6



ตัวอย่างข้อสอบ onet
ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ O-NET 53  ปีการศึกษา 2552 ระดับชั้น ม.6
ดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่

เฉลยข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ O-NET 53  ปีการศึกษา 2552 ระดับชั้น ม.6


 
O-NET / I-NET / V-NET ปีการศึกษา 2555 (สอบ พ.ศ.2556)
ตารางสอบ O-NET ป.6 , ม.3 และ ม.6 ประจำปีการศึกษา 2555
(สอบเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556) 

หรือเข้าตามลิงก์นี้เลย

http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/7/41edf0529ef8a8eb3945a22d04b1c92d.pdf











 





 MV ทางออกของ ว่าน ธนกฤต มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้กำลังใจทุกปัญหามีทางออก                 MV ทางออกของ ว่าน ธนกฤต มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้กำลังใจทุกปัญหามีทางออก   



we are ladysmile

So  thank you thank you thank you... 


                                                                                                                                         จัดทำโดย
นางสาวศศิธร  จูเจริญ
   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
                                                                                                                                เลขที่ 8


2 กันยายน 2555

บทความสุดท้าย

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
      ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวกคาร์บอนไดออกไซด์หรือมีเทน
จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด
มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ด้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆจนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่
ตารางแสดงแก๊สเรือนกระจกและแหล่งที่มา

แก๊สเรือนกระจก
 แหล่งที่มา   
ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น (%)
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) 1) จากแหล่งธรรมชาติ เช่น กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิต
2) จากมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ , การตัดไม้ทำลายป่า (ลดการดูดซับ CO2)
57
แก๊สมีเทน(CH4)1) จากแหล่งธรรมชาติ เช่น จากการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต, การเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ
2) จากมนุษย์ เช่น จากนาข้าว, แหล่งน้ำท่วม, จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาต
12
แก๊สไนตรัสออกไซด(N2O) 1) จากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมไนลอน, อุตสาหกรรมเคมี, การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากพืชและสัตว์, ปุ๋ย, การเผาป่า
2) จากแหล่งธรรมชาติ - อยู่ในภาวะที่สมดุล
6
แก๊สที่มีส่วนประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFCS) จากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมต่างๆ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โฟม, กระป๋องสเปรย์, เครื่องทำความเย็น ; ตู้เย็น แอร์ , ตัวทำลาย (แก๊สนี้จะรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซนทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลงหรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน)  
25
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน



         แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอดๆและจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก
รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น
น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที
มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว
ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย
นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่นๆมาอีก

วิธีการป้องกัน

ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้  
              1. การลดระยะทาง
              2. ปิดเครื่องปรับอากาศ
              3. ลดระดับการใช้งานของเครื่องใ้ชไฟฟ้า
              4. Reuse
              5. การรักษาป่าไม้
              6. ลดการใช้น้ำมัน

ลดระยะทาง
       ที่ใช้สำหรับการขนส่งอาหารเนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้ เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้

ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรม
       ที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้า แต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่

ลดระดับการใช้งาน
      เครื่องใช้ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิดเช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พักอาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่ หรือลดจำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง  อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่งผลมหาศาลต่อโลก

Reuse

     นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด
และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่าเพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป
ลดการใช้น้ำมัน
      จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถเช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง รถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว และทดลองเดินให้มากที่สุด

 การแก้ปัญหาโลกร้อน
 


          แล้วเราจะหยุดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไรเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้
เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน
การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล
และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก
แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อน
ไปในตัว
การแก้ปัญหามี 10 วิธี ดังนี้
1. เปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นฟลูออเรสเซนต์หนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
2. ขับรถให้น้อยลง
หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนต์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์
3. รีไซเคิลให้มากขึ้น
ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี
4. เช็คลมยาง
การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ
น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์
5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง
ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์
6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ
เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี
7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก)
ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี
8. ปลูกต้นไม
การปลูกต้นไม้หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน
9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้
ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี
และอย่างสุดท้าย
10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้ครับ

พลังงานทดแทนใหม่กับการแก้ปัญหาโลกร้อน


                                                  

                     พลังงาน กับ การแก้ปัญหาสภาวะเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกร้อนตลอดเวลาที่ผ่านมา เราทั้งหลายใช้พลังงานความร้อนกันเป็นอันมากซึ่งมีผลกระทบต่อโลกในทางที่เลวร้าย และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยากที่จะแก้ไขแล้วในขณะนี้
                     ถ้าพวกเราชาวมนุษย์โลก ไม่หยุดการใช้พลังงานความร้อนซะตั่งแต่ตอนนี้ ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ซึ่งลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศในสภาพเรือนกระจกนั้น จะมีอายุยืนอยู่ถึง 100 ปี ลูกหลานของเราจะเป็นผู้รับมรดกอันเลวร้ายน้ จากพวกเราซึ่งเป็นผู้กระทำ


 

วิธีลดภาวะโลกร้อน






ภาวะโลกร้อน




       
นางสาวมาริสา  วงศ์บุญมาก

ม.5/5  เลขที่  34
          

บทความสุดท้าย Idol ของฉัน

 Idol ของฉัน


นท พนายางกูร



ประวัติ นท The star
ชื่อ  นท  พนายางกูร
ชื่อเล่น นท
ฉายา เจ้าเหม่ง ตัวแสบ โก๊ะ เด็กดอย ติสต์ เห็ดนางฟ้า ป๋า
วันเกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536
แหล่งกำเนิด  เชียงใหม่
อาชีพ  นักศึกษา นักร้อง นักแสดง
แนวเพลง ป็อป , R&B,สปีลเมทัล


การศึกษา
    นทจบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนนานาชาติเกรซ จ.เชียงใหม่ ก่อนหน้านั้นนทเคยศึกษาอยู่ที่โรงเรียนพิงครัตน์ จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนนานาชาติเปรมติสูณลานนท์ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันนทสามารถสอบได้เป็นนิสิต ปี1อยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เข้าสู่วงการ
ในปี พ.ศ. 2554 นทได้เข้าเข้าประกวดร้องเพลงในรายการ เดอะสตาร์ 7 ผ่านเข้ารอบ 8 คนสุดท้ายโดยมีเพื่อนอีก 7 คน เป็นชายอีก 4 คน หญิง 3 คน และนท

     นท พนายางกูร ชื่อ นท แปลว่า ลำน้ำ แม่น้ำ ซึ่งชื่อนี้เป็นทั้งชื่อจริงและชื่อเล่นของเธอด้วย นทเกิดวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 นทได้รับการสนับสนุนมาโดยตลอด นทสนใจงานศิลปะทุกด้านมาตั้งแต่เด็กไม่ว่าจะเป็น วาดรูป งานปั้น ร้องเพลงโดยการร้องเพลงคือ สิ่งที่นทชอบมากที่สุด นอกจากนี้แล้วนทยังสามารถเล่นดนตรีได้หลายชนิดเช่น อูคูเลเล่ กลอง เปียโน กีต้าร์ นทเคยไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศอิตาลีได้ โดยนทไปเป็นรุ่นที่ 48ตลอดเวลาที่นทได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอยู่ที่อิตาลีนั้น ทำให้นทได้รู้จักเพื่อนมากมาย รวมทั้งทัศนคติ มุมแนวคิดที่หลากหลาย หนึ่งในแนวคิด ที่นทได้รับมานั่นก็คือ PEACE หรือว่าสันติภาพที่เรารู้จักกัน และตอนที่นทไปอยู่อิตาลีใหม่ๆนั้น นทยังไม่สามารภพูดภาษาอิตาลีได้ นทเลยได้ไปซื้ออูคูเลเล่มาเล่นด้วยว่า จะใช้เป็นภาษาหนึ่งที่สามารภสื่อสารกันได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ภาษาคน และตอนที่นทอยู่ที่อิตาลีนั้น นทยังได้ขึ้นร่วมแสดงคอนเสิร์ต นทได้แต่งเพลงเองชื่อเพลง just fine ซึ่งแต่งให้เพื่อนคนนึงที่ไปเป็นเพื่อนนักเรียนแลกเปลี่ยนด้วยกัน นทชอบเล่น อูคูเลเล่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีประจำตัวนทเลยก็ว่าได้ ต่อมานทจึงตัดสินใจเข้าประกวดเดอะสตาร์ 7 โดยได้รับเลขประจำตัวคือเลข 6 นทเคยไปฝึกงานโดยไปเป็นผู้ช่วยดีไซน์เนอร์ที่เกรย์ฮาว ที่กรุงเทพฯเป็นเวลาหนึ่งเดือน ก่อนที่นทจะไปสมัครเข้าประกวดเดอะสตาร์ และตอนอายุ16ปีนทยังเคยเข้าประกวดร้องเพลงChic Music Singing Contest ที่จ.เชียงใหม่ อีกด้วย โดยนทได้รับหมายเลขประจำตัวคือ Ch3



นทกับอูคูเลเล่      








ผลงาน

 อัลบั้มเดี่ยว






รายชื่อเพลงในอัลบั้ม

1.    เขิน

2.    ถ้าไม่รักกัน ฉันจะไป

3.    เก็บไว้ทำกับแฟน

4.    เธอคิดยังไง

5.    เจ้าชู้เฉพาะเธอ especially for you

6.    รักแบบไม่ต้องแอบรัก

7.    ยิ่งอยู่ไปยิ่งไม่รัก

8.    อยากจะรู้ (Feat.จูเนียร์ กรวิชญ์)

9.    ภาษาดอกไม้
   10. Just Fine ( เพลงที่นทแต่งเอง)





รางวัลที่ได้รับ

·    รางวัลป๊อปปูล่าโหวตจากการประกวดร้องเพลงChic Music Singing Contest

·    ตำแหน่งรองชนะเลิศจากรายการเดอะสตาร์ปีที่เจ็ด

·    Mthai Top Talk About Artists 2012

·     You2Play Award2012 สาขา Teen Pop ยอดนิยม

·     Kazz Award 2012 สาขา ศิลปินหญิงยอดนิยม

·     BANG AWARDS 2012 สาขา FAVORITE NEW COMER

      ภาพจากการประกวด The Star 7

                                                                                                             








 

 เพลงเปิดตัวการแข่งขัน The Star 7 ของ นท
เพลง ฟ้าส่งฉันมา







เพลง แรกของ นท The Star 7
เพลง รักแบบไม่ต้องแอบรัก



นางสาวสุรัสวดี สิงหนนท์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5  เลขที่ 9